ไรในหูแมว

ไรในหู (Ear mites) เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่บนผิวด้านในช่องหูและบริเวณใกล้เคียง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Otodectes cynotis  พบได้ทั้งในสุนัขและแมว อาศัยไขมันและเศษผิวหนังเป็นอาหาร มีวงจรชีวิตประมาณ 3 สัปดาห์ เป็นตัวไรที่มีขนาดเล็ก แต่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ลักษณะเป็นจุดขาว ๆ เคลื่อนไหวได้อยู่บนขี้หู แต่เวลาตรวจจะต้องส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์จึงจะเห็นตัวได้อย่างชัดเจน สามารถติดได้ง่ายผ่านการสัมผัสคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็น สัตว์ที่เลี้ยงร่วมกันในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขกับสุนัข สุนัขกับแมว หรือแมวกับแมว เมื่อเป็นแล้วสามารถจึงแพร่เชื้อให้กันได้

ไรในหูเป็นสาเหตุของการเกิดโรคช่องหูอักเสบ (Otitis) ในแมว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียว หรืออาจเป็นร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อยีสต์ด้วยก็ได้ สัตว์ป่วยจะมีขี้หูจำนวนมาก ลักษณะออกสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีอาการคันหูรุนแรง บางตัวสะบัดหัวจนใบหูบวม (aural hematoma) หรือเกาหูจนเกิดการอักเสบ บางรายเป็นรุนแรงเกิดการติดเชื้อไปยังช่องหูชั้นกลางและชั้นใน ทำให้มีอาการทางระบบประสาท เช่น หัวเอียง เดินวน เดินเซ ได้ด้วย

วิธีสังเกต

1.ขี้หูเยอะเกินไปไหม? พอมีไรหูแล้วเลยไปกระตุ้นให้เยื่อบุหูผลิตขี้หูออกมาเยอะเกินไป โดยขี้หูมักจะออกมาสีน้ำตาลเข้มถึงดำ จนบางครั้งทำให้ในหูแมวดูสกปรกเหมือนมีคราบอะไรเปรอะเปื้อน

2.แมวชอบเก่าหรือสะบัดหัวหรือเปล่า? ไรหูน่ะทำให้แมวรำคาญน่าดู เลยเอาแค่เกาหรือแคะหูซ้ำๆ ด้วยเท้าหลัง และ/หรือชอบสะบัดหัวบ่อยๆ

3.สังเกตลักษณะท่าทางของแมว. แมวที่มีไรหูมักจะเอียงคออยู่เสมอ แต่โดยรวมก็เป็นสัญญาณบอกว่าแมวคันหรือไม่สบายหูนั่นแหละ ไม่ว่าจะมีไรหูหรือไม่ก็ตาม

การรักษา*

1.ฉีดยา Ivermectin 300 ไมโครกรัม/กิโลกรัม  ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2 ครั้ง  ห่างกัน 14 วัน
หรือหยอดหลังด้วย Revolution หยอด 3 ครั้ง ห่างกันครั้งล่ะ 14 วัน
หรือหยอดหลังด้วย Advocate ทุกๆเดือน
2.การล้างทำความสะอาดช่องหู ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดช่องหู
3.การหยอดยาหยอดหูด้วยยาที่สามารถฆ่าตัวไรได้ เช่น Dexoryl

ร่วมกับการรักษาบรรเทาตามอาการต่างๆ เช่นยาลดคัน,ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อในช่องหูแทรกซ้อน, การใส่ collar ป้องกันการเกา

หมายเหตุ
      *ควรพาแมวไปหาหมอเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจ ด้วยเครื่องตรวจที่เรียกว่า auroscope,เก็บตัวอย่างขี้หูของแมวและเฃ็คแก้วหูแมวว่าเสียหายหรือไม่

ข้อควรระวัง

ไรในหูเป็นโรคที่สามารถติดต่อสัตว์อื่นได้  จึงควรแยกบริเวณจากสัตว์อื่นๆจนกว่าจะหายดี

ไรในหูเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้  แต่สามาถติดต่อกลับมาเป็นอีกได้เช่นกัน

ความคิดเห็น