แมวแต่ละช่วงอายุมีความต้องการอาหารแตกต่างกันไป
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงแมวถึงแม้ว่าแมวจะเป็นสัตว์ประเภทกินเนื้อ
ก็ตาม แต่แมวก็แตกต่างไปจากสัตว์กินเนื้อประเภทอื่นๆ
เรื่องความต้องการอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ
การที่แมวท้องใหญ่ เจ้าของแมวอาจคิดว่าเกิดจากการบำรุงเลี้ยงดูจนมีสุขภาพดีแต่แท้จริงแล้วแมว อาจเป็นโรคพยาธิก็ได้ โดยเฉพาะลูกแมวการที่แมวกินข้าวคลุกปลาได้ทุกวันไม่ใช่ เพราะว่าแมวชอบกินปลา แต่เพราะมันหิว หรือแมวที่จับหนกินไม่ใช่เพราะว่ามันชอบกินหนูหรือกินหนูแล้วจะแข็งแรงแต่ เพราะว่ามันหิวเต็มที่แล้ว ถ้าแมวไม่หิว เมื่อมันจับหนูมามันจะไม่กิน แต่มันจะใช้เป็นของเล่นจนกว่าหนูจะตาย ดังนั้นการให้อาหารแมวจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการของแมวด้วย ไม่ควรให้มากหรือน้อยเกินไป
อาหารแมว
อาหารเสริมอื่นๆ ก็สำคัญสำหรับแมว เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ นม ไข่และอื่นๆ หากต้องการให้แมวนั้นมีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่ควรจะให้อาหารประเภทข้าวคลุกปลา เพียงอย่างเดียว โดยที่ชนิดและประโยชน์ของอาหารเสริมที่ควรให้แมวรับประทานเพิ่มเติมมีดังนี้
- เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ ไต หัวใจ : ควรทำให้สุกก่อนเพื่อป้องกันพยาธิ
- ไข่ ผสมกับข้าวให้กินทุกวันได้ยิ่งดี (ถ้าไม่ได้ ให้ผสมกับข้าวอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง )
- ปลา : ต้องทำให้สุกและต้องเอาก้างออกให้หมด
- อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู : ก็เป็นอาหารที่แมวชอบแต่ต้องระวังอย่าให้ส่วนที่แข็งปะปนไปด้วย
- เนื้อไก่ เนื้อเป็ด : ให้กินเป็นครั้งคราว
- น้ำสะอาด ควรมีไว้ให้แมวกินได้ตลอดวัน
- น้ำต้มเนื้อ : เป็นอาหารที่แมวกินได้ทุกวัน
- นม : เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกแมวและแมวทุกวัย
หลักการให้อาหารแมว
อาหารแต่ละมื้อ ควรประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของแมวในแต่ละช่วงอายุและแต่ละพันธุ์ดังนี้
- เนื้อ : ให้โปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ
- ไขมัน : ให้พลังงาน ความร้อน และวิตามินเอและดี
- ข้าวและเมล็ดธัญพืชทุกชนิด : ให้พลังงานและวิตามินบีและอี
- ผักใบเขียวดิบๆ หรือต้มไฟอ่อนๆ : ให้เกลือแร่วิตามินซี และวิตามินอื่นๆ
- ไข่ ตับ : ให้ไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัสและวิตามินประเภทต่างๆ เช่นวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินบี เป็นต้น
ให้กินเป็นเวลา ควรเริ่มต้นฝึกให้แมวกินเป็นเวลาตั้งแต่อายุ ๓ เดือน เพื่อแมวจะได้ไม่ร้องหิวให้รำคาญ ไม่รบกวนอยู่รอบๆ เพื่อขออาหารกินและไม่บุกเข้าไปกินอาหารต่างๆในครัว เช่น แมวโตให้อาหารวันละ ๒ มื้อ คือมื้อเช้ากับมื้อเย็น และให้ตรงเวลาทุกวัน ส่วนลูกแมวให้บ่อยขึ้นอาจให้วันละ๓-๔ ครั้ง
ปริมาณอาหารที่ให้ ควรให้ครั้งละน้อยๆ แต่เพียงพอ ไม่ควรให้กินมากเกินไปเพราะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารต้องทำงานหนัก อาหารย่อยไม่หมด การใช้ประโยชน์จากอาหารลดลง ถ้าเห็นแมวกินอาหารแบบเล็มๆหมายความว่าควรลดจำนวนอาหารลงถ้าแมวได้รับปริมาณ อาหารเกินความต้องการจะทำให้เกิดโรคอ้วน แมวจะอายุสั้น จึงควรจำกัดปริมาณอาหารให้สมดุลกับความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยการวัดผลจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละสัปดาห์
ข้อควรระวังในการให้อาหารแมว
1.อย่าให้อาหารแมวมากเกินไป เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อยและทำให้แมวอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ(มีไขมันห่อหุ้มหัวใจ)
2.ให้อาหารอย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้แมวจับหนูกิน
3.อย่าให้อาหารที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
4.อย่าให้อาหารที่มีรสจัด
5. อย่าให้อาหารที่มีก้างหรือกระดูกชิ้นเล็กๆน้อยๆ แก่แมวเพราะก้างหรือกระดูกแหลมคมอาจทิ่มคอจะเป็นอันตรายแก่ลำไส้ของแมวได้
6. อย่าให้กินเนื้อหรือปลาดิบ ควรทำให้สุกเสียก่อนเพราะจะมีพยาธิ
7. ควรคลุกอาหารให้เข้ากันดี เพื่อไม่ให้แมวเลือกกินอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
ปลาดิบอาหารต้องห้ามสำหรับแมวเหมียวแสนรัก
เนื้อ ปลาเป็นอาหารโปรดของแมวเหมียว และเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ถ้าให้แมวเหมียวทานเข้าไปอย่างผิดวิธี แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับเกิดโทษให้แมวเหมียวเสีย มากกว่า
เนื้อ ปลาที่ไม่ผ่านการปรุงสุกนั้น จะมีส่วนประกอบของเอนไซน์ชนิดหนึ่งที่เป็นตัวทำลายสารไทอะมีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการเสริมสร้างวิตามิน B1 ให้ร่างกายแมวเหมียว ส่งผลให้แมวเหมียวที่กินปลาดิบบ่อยมีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ความสมดุลในการทรงตัวเสียไป ล้มฟุบบ่อยๆ หากปล่อยไว้นานๆ จะทำให้แมวเหมียวพิการได้
สาเหตุที่แมวไม่กินอาหาร
อาจเป็นไปได้ว่าอาหารที่คุณเตรียมไว้ให้ บูด เสียแล้ว, อาหารเพิ่งออกมาจากตู้เย็นเลย, อาหารเพิ่งทำมาร้อนๆเลย, อาหารกลิ่นแปลกๆไม่เคยกิน รวมถึงความเครียดจากการย้ายที่อยู่ และอีกหลายสาเหตุที่ไม่อาจเดาใจเจ้าเหมียวได้ถูก ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องอุณหภูมิของอาหารแล้ว อาหารที่จะให้ควรมีอุณหภูมิที่พอดี ไม่ร้อน ไม่เย็นจนเกินไป แมวไม่ชอบของร้อน ไม่เหมือนหมา ถ้าหิวร้อนหรือเย็นก็พอกินได้ แต่แมวไม่ใช่ บางทีแมวอาจกินของเย็นได้ในบางโอกาส(แมวที่บ้านกินไอติมได้ด้วย) แมวเป็นนักล่าและกินเหยื่อขณะตัวยังอุ่นๆอยู่ โดยทั่วไปอาหารแมวก็จะมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง ถ้าเอาอาหารออกจากตู้เย็นใหม่ๆ ก็น่าจะทิ้งไว้ซักพักพอคลายความเย็นลงแล้วค่อยให้แมวกิน
การที่แมวท้องใหญ่ เจ้าของแมวอาจคิดว่าเกิดจากการบำรุงเลี้ยงดูจนมีสุขภาพดีแต่แท้จริงแล้วแมว อาจเป็นโรคพยาธิก็ได้ โดยเฉพาะลูกแมวการที่แมวกินข้าวคลุกปลาได้ทุกวันไม่ใช่ เพราะว่าแมวชอบกินปลา แต่เพราะมันหิว หรือแมวที่จับหนกินไม่ใช่เพราะว่ามันชอบกินหนูหรือกินหนูแล้วจะแข็งแรงแต่ เพราะว่ามันหิวเต็มที่แล้ว ถ้าแมวไม่หิว เมื่อมันจับหนูมามันจะไม่กิน แต่มันจะใช้เป็นของเล่นจนกว่าหนูจะตาย ดังนั้นการให้อาหารแมวจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการของแมวด้วย ไม่ควรให้มากหรือน้อยเกินไป
อาหารแมว
อาหารเสริมอื่นๆ ก็สำคัญสำหรับแมว เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ นม ไข่และอื่นๆ หากต้องการให้แมวนั้นมีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่ควรจะให้อาหารประเภทข้าวคลุกปลา เพียงอย่างเดียว โดยที่ชนิดและประโยชน์ของอาหารเสริมที่ควรให้แมวรับประทานเพิ่มเติมมีดังนี้
- เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ ไต หัวใจ : ควรทำให้สุกก่อนเพื่อป้องกันพยาธิ
- ไข่ ผสมกับข้าวให้กินทุกวันได้ยิ่งดี (ถ้าไม่ได้ ให้ผสมกับข้าวอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง )
- ปลา : ต้องทำให้สุกและต้องเอาก้างออกให้หมด
- อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู : ก็เป็นอาหารที่แมวชอบแต่ต้องระวังอย่าให้ส่วนที่แข็งปะปนไปด้วย
- เนื้อไก่ เนื้อเป็ด : ให้กินเป็นครั้งคราว
- น้ำสะอาด ควรมีไว้ให้แมวกินได้ตลอดวัน
- น้ำต้มเนื้อ : เป็นอาหารที่แมวกินได้ทุกวัน
- นม : เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกแมวและแมวทุกวัย
หลักการให้อาหารแมว
อาหารแต่ละมื้อ ควรประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของแมวในแต่ละช่วงอายุและแต่ละพันธุ์ดังนี้
- เนื้อ : ให้โปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ
- ไขมัน : ให้พลังงาน ความร้อน และวิตามินเอและดี
- ข้าวและเมล็ดธัญพืชทุกชนิด : ให้พลังงานและวิตามินบีและอี
- ผักใบเขียวดิบๆ หรือต้มไฟอ่อนๆ : ให้เกลือแร่วิตามินซี และวิตามินอื่นๆ
- ไข่ ตับ : ให้ไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัสและวิตามินประเภทต่างๆ เช่นวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินบี เป็นต้น
ให้กินเป็นเวลา ควรเริ่มต้นฝึกให้แมวกินเป็นเวลาตั้งแต่อายุ ๓ เดือน เพื่อแมวจะได้ไม่ร้องหิวให้รำคาญ ไม่รบกวนอยู่รอบๆ เพื่อขออาหารกินและไม่บุกเข้าไปกินอาหารต่างๆในครัว เช่น แมวโตให้อาหารวันละ ๒ มื้อ คือมื้อเช้ากับมื้อเย็น และให้ตรงเวลาทุกวัน ส่วนลูกแมวให้บ่อยขึ้นอาจให้วันละ๓-๔ ครั้ง
ปริมาณอาหารที่ให้ ควรให้ครั้งละน้อยๆ แต่เพียงพอ ไม่ควรให้กินมากเกินไปเพราะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารต้องทำงานหนัก อาหารย่อยไม่หมด การใช้ประโยชน์จากอาหารลดลง ถ้าเห็นแมวกินอาหารแบบเล็มๆหมายความว่าควรลดจำนวนอาหารลงถ้าแมวได้รับปริมาณ อาหารเกินความต้องการจะทำให้เกิดโรคอ้วน แมวจะอายุสั้น จึงควรจำกัดปริมาณอาหารให้สมดุลกับความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยการวัดผลจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละสัปดาห์
ข้อควรระวังในการให้อาหารแมว
1.อย่าให้อาหารแมวมากเกินไป เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อยและทำให้แมวอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ(มีไขมันห่อหุ้มหัวใจ)
2.ให้อาหารอย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้แมวจับหนูกิน
3.อย่าให้อาหารที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
4.อย่าให้อาหารที่มีรสจัด
5. อย่าให้อาหารที่มีก้างหรือกระดูกชิ้นเล็กๆน้อยๆ แก่แมวเพราะก้างหรือกระดูกแหลมคมอาจทิ่มคอจะเป็นอันตรายแก่ลำไส้ของแมวได้
6. อย่าให้กินเนื้อหรือปลาดิบ ควรทำให้สุกเสียก่อนเพราะจะมีพยาธิ
7. ควรคลุกอาหารให้เข้ากันดี เพื่อไม่ให้แมวเลือกกินอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
ปลาดิบอาหารต้องห้ามสำหรับแมวเหมียวแสนรัก
เนื้อ ปลาเป็นอาหารโปรดของแมวเหมียว และเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ถ้าให้แมวเหมียวทานเข้าไปอย่างผิดวิธี แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับเกิดโทษให้แมวเหมียวเสีย มากกว่า
เนื้อ ปลาที่ไม่ผ่านการปรุงสุกนั้น จะมีส่วนประกอบของเอนไซน์ชนิดหนึ่งที่เป็นตัวทำลายสารไทอะมีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการเสริมสร้างวิตามิน B1 ให้ร่างกายแมวเหมียว ส่งผลให้แมวเหมียวที่กินปลาดิบบ่อยมีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ความสมดุลในการทรงตัวเสียไป ล้มฟุบบ่อยๆ หากปล่อยไว้นานๆ จะทำให้แมวเหมียวพิการได้
สาเหตุที่แมวไม่กินอาหาร
อาจเป็นไปได้ว่าอาหารที่คุณเตรียมไว้ให้ บูด เสียแล้ว, อาหารเพิ่งออกมาจากตู้เย็นเลย, อาหารเพิ่งทำมาร้อนๆเลย, อาหารกลิ่นแปลกๆไม่เคยกิน รวมถึงความเครียดจากการย้ายที่อยู่ และอีกหลายสาเหตุที่ไม่อาจเดาใจเจ้าเหมียวได้ถูก ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องอุณหภูมิของอาหารแล้ว อาหารที่จะให้ควรมีอุณหภูมิที่พอดี ไม่ร้อน ไม่เย็นจนเกินไป แมวไม่ชอบของร้อน ไม่เหมือนหมา ถ้าหิวร้อนหรือเย็นก็พอกินได้ แต่แมวไม่ใช่ บางทีแมวอาจกินของเย็นได้ในบางโอกาส(แมวที่บ้านกินไอติมได้ด้วย) แมวเป็นนักล่าและกินเหยื่อขณะตัวยังอุ่นๆอยู่ โดยทั่วไปอาหารแมวก็จะมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง ถ้าเอาอาหารออกจากตู้เย็นใหม่ๆ ก็น่าจะทิ้งไว้ซักพักพอคลายความเย็นลงแล้วค่อยให้แมวกิน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น