โรคเยื่อบุช่องทองอักเสบ (Feline Infectious Peritonitis : FIP)


โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส Feline Coronavirus (FCoV) เชื้อนี้มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ สามารถเจริญเติบโตในเม็ดเลือดขาวบางชนิด ซึ่งเซลล์ที่ติดเชื้อจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปทั่วตัวแมว


การติดต่อของโรค
ติด โรคโดยเชื้อไวรัส(Feline coronavirus FCoV)เข้าทางช่องปากและจมูก จากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำลาย หรืออุจจาระของแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้ หรือสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัส เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ชามอาหาร-น้ำ หรือของเล่นแมว
โรคจะเข้าสู่ทางเดิน อาหาร และเมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้ว ก็จะมีแผลและอาการต่างๆ อีกหลายขั้นตอนจนทำให้เกิดวิการและปัญหาต่างๆ กับอวัยวะต่างๆ ในช่องท้องและช่องอก
(Feline coronavirus FCoV

อาการ
การ สัมผัสเชื้อไวรัสนี้ ครั้งแรกจะไม่ทำให้เกิดอาหารที่เด่นชัด แมวบางตัวอาจมีปัญหากับระบบทางเดินหายใจส่วนต้นอย่างอ่อนๆ โดยแสดงอาการจาม มีน้ำมูก น้ำตาไหล แมวส่วนใหญ่ที่มีการติดเชื้อครั้งแรกมักจะหาย แต่ก็มีบางตัวที่กลายเป็นพาหะของเชื้อไวรัส
โรคนี้มีอาการหลักอยู่ 2 แบบ คือ
แบบแห้ง (Non-effusive)
แบบเปียก (Effusive)

ส่วนใหญ่เป็นแบบเปียก จะมีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง หรือ/และ ช่องอก ถ้าของเหลวสะสมเป็นจำนวนมากแมวจะหายใจลำบาก
ใน แบบแห้งอาการจะเป็นอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีของเหลวสะสม แต่พบอาการซึม น้ำหนักลด โลหิตจาง และเป็นไข้ อาจพบอาการไตวาย โรคของระบบประสาท หรือโรคตา


การรักษา
ยัง ไม่มีการรักษาที่ได้ผล โดยมากรักษาตามอาการ เพื่อให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น มีการใช้สารเสริมอาหารต่างๆ ยาปฏิชีวนะ สเตียรอยด์ ไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) อินเตอร์เฟียรอน ยาต้านไวรัสต่างๆ แต่ผลที่ได้ยังไม่ดี


การควบคุมโรค
การ สุขาภิบาลของที่อยู่อาศัยต้องดี แยกสัตว์ป่วยออก ไม่ควรปล่อยแมวออกเที่ยวนอกบ้าน เพราะอาจทำให้ติดโรคมาได้ อย่าเลี้ยงแมวให้หนาแน่นมาก ฉีดวัคซีนแมวเป็นประจำ ให้อาหารที่มีโภชนาการที่ดี


การป้องกันโรค
โดย การใช้วัคซีน ป้องกันโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หยอดจมูกแมวอายุตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป 2 ครั้ง ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ และทำซ้ำทุกปี

อุบัติ การณ์ของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว (FIP) ที่สูงและขาดวิธีการรักษาที่ได้ผล ทำให้การป้องกันโรค FIP เป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคเยื่อบุ
ช่องท้องอักเสบ แบบหยอดจมูก เป็นวัคซีนชนิดหยอดจมูกที่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยลดการเกิดโรค FIP ในแมวที่ได้รับวัคซีน การหยอดจมูกด้วยวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิด mucosal IgA และ cell-mediated Immune (CMI) อย่างมาก



ข้อมูลจาก
บริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ความคิดเห็น