การให้ยาแมว


เมื่อสัตวแพทย์มีความเห็นว่าต้องให้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของสัตว์ เลี้ยง ก็จะสั่งยาเพื่อรักษาโรคตามการวินิจฉัยนั้น ถ้าเป็นยาฉีดจะดำเนินการโดยสัตวแพทย์ แต่ถ้าเป็นยาที่ให้กินหรือยาใช้ภายนอก (เช่น ยาทาแผล ยาหยอดตา และยาหยอดหู) แล้ว สัตวแพทย์จะสั่งยาเพื่อให้เจ้าของสัตว์ไปดำเนินการให้ยาเอง ดังนั้น เจ้าของสัตว์จึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้ยา เพื่อที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและไม่เกิดการดื้อยา แต่บางครั้งก็มีการให้ยาโดยที่สัตว์เลี้ยงไม่ได้เจ็บป่วย เช่น ยาถ่ายพยาธิ และยาบำรุง เป็นต้น

รูปแบบของยาที่ให้

ยา ที่ให้สัตว์มีหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์และความสะดวกในการให้ มีทั้งรูปยาฉีด ยากิน ยาสูดดม และยาใช้ภายนอก ยาฉีดและยาสูดดมนั้นดำเนินการโดยสัตวแพทย์ ส่วนยากินและยาใช้ภายนอกนั้นสัตวแพทย์จะบอกให้เจ้าของสัตว์ไปดำเนินการเอง

ยา กินที่สัตวแพทย์มักจ่ายให้กับสัตว์เลี้ยง ได้แก่ ยาเม็ด ยาผงผสมน้ำ และยาไซรัป ส่วนยาใช้ภายนอก ได้แก่ ครีมทาผิวหนัง ยาหยอดตา และยาหยอดหู

วิธีการให้ยาแมว


1. วิธีการป้อนยาน้ำ
1. เขย่าขวดยาก่อนแล้วดูดยาใส่ภาชนะที่ใช้ป้อนยา เช่น กระบอกฉีดยาพลาสติก
2. จับหน้าแมวเงยขึ้นเล็กน้อย
3. ค่อยๆ ปล่อยยาใส่บริเวณด้านข้างระหว่างฟันกับริมฝีปาก

2. วิธีให้ยาหยอดตา
1. ทำความสะอาดตาโดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือหมาดๆ เช็ดขี้ตาออก
2. ค่อยๆ บังคับแมวและให้ตาเปิด วางมือตรงด้านหลังใบหน้าของสุนัข เพื่อไม่ให้แมวมองเห็น
3. บีบน้ำยาลงไปที่ตา และปล่อยให้ยากระจายทั่วตา

3. วิธีให้ยาหยอดหู
1. จับหัวของแมวให้นิ่ง ใบหูพับไปด้านหลัง และทำความสะอาดหูโดยใช้น้ำยาล้างหู
2. หยอดยาใส่หู
3. นำไปหูของแมวไปไว้ตำแหน่งเดิม จากนั้นใช้นิ้วนวดที่กกหู เพื่อให้ยากระจายได้ทั่วช่องหู

วิธีการป้อนยาเม็ดให้แมว

ข้อ ควรระวังในการให้ยาแมวคือ การใช้เท้าหน้าข่วน เพราะเล็บแมวคมมาก จึงต้องมีคนช่วยจับขาหน้าไว้ด้วยเมื่อให้ยาแมว การให้ยาหยอดตาและหยอดหูใช้วิธีเดียวกับที่ให้กับสุนัข

ส่วนการป้อน ยาน้ำใช้วิธีคล้ายกับการป้อนยาน้ำให้สุนัข โดยค่อยๆ ปล่อยหรือฉีดยาใส่เข้าไประหว่างฟันด้านหลังฟันเขี้ยว แทนที่จะค่อยๆ ปล่อยหรือฉีดยาใส่บริเวณด้านข้างระหว่างฟันกับริมฝีปากดังที่ปฏิบัติกับ สุนัข

แต่การป้อนยาเม็ดให้แมวจะมีข้อแตกต่างจากการป้อนยาเม็ดในสุนัข เมื่อต้องการป้อนยาเม็ดให้แมวต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งกดปากแมวให้เปิดกว้างมากที่สุดโดยให้มืออยู่เหนือหัวแมว
2. ใช้มืออีกข้างหนึ่งรีบใส่ยาในปาก โดยให้เข้าให้ลึกมากที่สุด แต่ต้องระวังฟันเขี้ยวของแมวด้วย
3. รีบปิดปากแมว

การเก็บรักษายา
เมื่อ ได้รับยามาจากสัตวแพทย์ต้องตรวจสอบว่าได้รับยาถูกต้องหรือไม่ และต้องเก็บรักษาให้ถูกวิธีด้วย ดังนั้น เมื่อได้รับยาจากสัตวแพทย์ควรกระทำ ดังนี้

1. เก็บยาไว้ในสถานที่ที่สะดวก หยิบใช้ง่าย มีอากาศถ่ายเท แต่ไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อนมาก และไม่อยู่บริเวณที่สัตว์เลี้ยงสามารถจะเขี่ยเล่นหรือกินได้เอง
2. เก็บยาในตู้เย็นในกรณีที่สัตวแพทย์แนะนำให้เก็บในตู้เย็น
3. ไม่เก็บยาต่างชนิดไว้ในซองเดียวกัน หรือภาชนะบรรจุเดียวกัน
4. มีชื่อยาหรือสรรพคุณของยาปิดอยู่
5. ก่อนใช้ยาต้องสังเกตว่า ยาตกตะกอนหรือเปลี่ยนสีหรือไม่
6. ตรวจดูวันหมดอายุของยาหรือวันที่รับยา ซึ่งเขียนไว้ที่ซองยา
7. ปิดฝาขวดหรือปิดถุงยาให้สนิทหลังจากใช้ยา

หลักการใช้ยาให้ได้ผล
การที่จะให้ยากับสัตว์เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพดี จนสัตว์มีอาการดีขึ้นหรือหายจากอาการป่วย ต้องปฏิบัติดังนี้

1. ให้ยาได้เต็มขนาดตามที่กำหนดไว้
2. ให้ยาด้วยวิธีการให้และเวลาที่ให้ยาซ้ำตามที่แนะนำโดยสัตวแพทย์
3. ระยะเวลายาวนานในการให้ยาต้องเหมาะสมกับชนิดของโรค นั่นคือต้องให้ยาจนหมดตามที่สัตวแพทย์สั่ง และต้องมาตรวจซ้ำตามกำหนดนัดหมาย
4. แต่ถ้าสังเกตว่าไม่มีการตอบสนองที่ดีต่อการให้ยา ต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ยาหมด เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยหรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดใหม่ต่อไป
5. ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาต้องสอบถามสัตวแพทย์
6. ถ้าเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์กับสัตว์ป่วยจากการใช้ยา เช่น อาเจียน น้ำลายไหล หายใจขัด ตัวสั่นและผิวหนังเป็นผื่นแดง ต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาทันที

ความล้มเหลวจากการใช้ยา
การที่ยาไม่ให้ผลที่ดีในการรักษาอาจจะเนื่องจาก
1. รักษาด้วยยาช้าเกินไปจนช่วยชีวิตสัตว์ป่วยไม่ทัน
2. การวินิจฉัยไม่ถูกต้อง จึงใช้ยาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนายสัตวแพทย์
3. ใช้ยาไม่เหมาะสม เช่น ให้ยาขนาดต่ำเกินไป และระยะเวลาที่ให้ยาสั้นเกินไป
4. ให้ยาที่เสื่อมคุณภาพ เช่น ตกตะกอน สีผิดปกติ และหมดอายุ เป็นต้น
5. เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยา

ที่มาของข้อมูล

โรงพยาบาลสัตว์ปัฐวิกรณ์ โดย รศ.น.สพ.ดร. กมลชัย ตรงวานิชนาม

ความคิดเห็น